เตีย-ตุย เหงียน ศิลปินชาวเวียดนาม จัดแสดงงานศิลป์สุดแปลกใหม่ “Flower of Life” ที่ชาโตว์ ลา คอสต์

 เตีย-ตุย เหงียน ศิลปินชาวเวียดนาม จัดแสดงงานศิลป์สุดแปลกใหม่ “Flower of Life” ที่ชาโตว์ ลา คอสต์

ฟลาวเวอร์ ออฟ ไลฟ์ (Flower of Life) คืองานศิลป์แบบอินเทอร์แอคทีฟจากศิลปินชาวเวียดนามอย่างเตีย-ตุย เหงียน (Tia-Thuy Nguyen) ซึ่งหวังที่จะสะท้อนให้เห็นความสนใจที่มีต่อกฏการอนุรักษ์พลังงาน จึงได้พัฒนาผลงาน “ฟลาวเวอร์ ออฟ ไลฟ์” ขึ้นมา เพื่อบอกเล่าเรื่องราวในการ ‘นำสิ่งของกลับมาใช้ใหม่’ (นี่คือต้นไม้ที่ตายแล้ว) เพื่อมอบความสามารถและชีวิตใหม่ ด้วยการสร้างวัตถุนั้นขึ้นมาใหม่ ในสายตาของศิลปินอย่างเตีย-ตุย เหงียนนั้น ต้นไม้ที่ตายแล้วต้นนี้คือจุดเริ่มต้นของบทใหม่ พลังงานในนั้นยังไม่สูญสิ้น และ ‘ชีวิต’ ของมันยังไม่ดับไป

ศิลปินผู้นี้ได้สร้างสรรค์งานศิลปะตามโครงสร้างเดิมของต้นโอ๊กสูง 18 เมตรที่ตายแล้ว ประดับด้วยใบไม้หลายใบที่เชื่อมด้วยมือและทำจากสแตนเลสสตีล ชั้นโลหะนี้ไม่เพียงแต่ทำหน้าที่เป็นโครงสร้างเท่านั้น แต่ยังเป็น ‘เครื่องประดับ’ อันแวววาวอีกด้วย โดยมีใบไม้สแตนเลสสตีลหลายพันใบห้อยอยู่ ทั้งยังมี “ดอกไม้” ที่ทำจากหินควอตซ์สีสันสดใสสะท้อนแสงบนกิ่งก้านของต้นไม้ ทำให้เกิดประกายแวววาวราวกับเล่นกับแสงแดด

ชีวิตและพลังของ “ฟลาวเวอร์ ออฟ ไลฟ์” ไม่เพียงแต่อยู่ในตัวมันเองเท่านั้น แต่ยังเชื่อมโยงกับโลกรอบตัวด้วย เปรียบได้เหมือนกับว่าแสง ‘ติดกับ’ อยู่ในเกมของเตีย-ตุย เหงียน โดยไม่ได้ตั้งใจ เกมนี้ดูเหมือนจะวนซ้ำแล้วซ้ำเล่า วันแล้ววันเล่า แต่ผู้ชมจะไม่มีวันเห็นสองฉากที่เหมือนกันเป๊ะได้เลย ด้วยความซุกซนและความคิดสร้างสรรค์อันชาญฉลาด เตีย-ตุย เหงียน คือความเชื่อมโยงระหว่างแสงธรรมชาติ งานศิลปะ และผู้ชม เธอได้รังสรรค์การแสดงของธรรมชาติ เหมือน ‘เครื่องยนต์’ ที่ไม่มีวันหยุดนิ่ง เพราะมีพลังงานหมุนเวียนของจักรวาลขับเคลื่อนอยู่

เตีย-ตุย เหงียน เกิดและโตในกรุงฮานอย โดยสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยวิจิตรศิลป์เวียดนาม (พ.ศ. 2549) จากนั้นก็เรียนต่อและสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกสาขาวิจิตรศิลป์ ที่สถาบันวิจิตรศิลป์และสถาปนิกแห่งชาติ (National Academy of Fine Art and Architect) ที่กรุงเคียฟ ประเทศยูเครน (พ.ศ. 2557) เตีย-ตุย เหงียน ฝึกวาดภาพมาตั้งแต่ปี 2542 งานศิลปะของเธอมักจะเน้นไปที่การสังเกตสภาพแวดล้อมที่อยู่รายรอบ และสีสันต่าง ๆ งานศิลปะของเธอได้รับการจัดแสดง ประมูล และมีผู้นำไปสะสมอย่างกว้างขวางในเวียดนามและยุโรป และในปี 2562 นั้น เธอติดอันดับ ‘50 ผู้หญิงที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดในเวียดนามประจำปี 2562’ โดยฟอร์บส์ เวียดนาม (Forbes Vietnam) “ฟลาวเวอร์ ออฟ ไลฟ์” เป็นตัวอย่างที่สะท้อนความคิดสร้างสรรค์ของเธอได้อย่างชัดเจน ผสมผสานรูปแบบอันเป็นเอกลักษณ์เข้ากับความหมายอันลึกซึ้งเกี่ยวกับชีวิตและการฟื้นฟูภายในการดำรงอยู่ทางวัตถุ

เตีย-ตุย เหงียน จัดแสดงผลงานศิลปะของเธอที่ชาโตว์ ลา คอสต์ (Château La Coste) เป็นครั้งที่สามแล้ว ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผลงานและอิทธิพลของเธอเป็นที่ยอมรับและชื่นชม ชาโตว์ ลา คอสต์ เป็นสวนศิลปะที่ตั้งอยู่ในเมืองแอ็กซ็องพรอว็องส์ทางตอนใต้ของฝรั่งเศส มีชื่อเสียงจากการผสมผสานศิลปะร่วมสมัย สถาปัตยกรรม และวัฒนธรรมไวน์อย่างมีเอกลักษณ์ สถานที่แห่งนี้มีประติมากรรมและสถาปัตยกรรมโดยศิลปินและสถาปนิกชั้นนำของโลกตั้งอยู่มากมาย ไม่ว่าจะเป็นศิลปินชาวฝรั่งเศส-อเมริกันอย่างหลุยส์ บูชัวร์ (Louise Bourgeois) ซึ่งเป็นที่รู้จักเป็นอย่างดีจากผลงานประติมากรรมและการจัดวางแมงมุมมามอง (Maman) ไปจนถึงเดเมียน เฮิร์สต์ (Damien Hirst), อเล็กซานเดอร์ คาร์เดอร์ (Alexander Carder), อ้าย เว่ย เว่ย (Ai Wei Wei), เทรซี เอมิน (Tracy Emin) และผลงานสถาปัตยกรรมโดยทาดาโอะ อันโดะ (Tadao Ando), ​​เรนโซ เปียโน (Renzo Piano), ริชาร์ด โรเจอร์ส (Richard Rogers) สถานที่แห่งนี้ผสมผสานศิลปะร่วมสมัย สถาปัตยกรรม และวัฒนธรรมไวน์ได้อย่างมีเอกลักษณ์ ตั้งอยู่ในเมืองแอ็กซ็องพรอว็องส์ทางตอนใต้ของฝรั่งเศส เปิดโอกาสให้ผู้ชมได้สำรวจและโต้ตอบกับผลงานของศิลปินในสภาพแวดล้อมทางศิลปะที่สวยงามและเป็นเอกลักษณ์

นิทรรศการ “ฟลาวเวอร์ ออฟ ไลฟ์” โดยเตีย-ตุย เหงียน เปิดให้เข้าชมตั้งแต่วันที่ 18 พฤศจิกายน 2566 ถึง 30 มกราคม 2567 ที่ชาโตว์ ลา คอสต์ ที่ตั้ง: 2750 Route De La Cride, 13610 Le Puy-Sainte-Réparade ประเทศฝรั่งเศส

ฟลาวเวอร์ ออฟ ไลฟ์
2566
ต้นโอ๊กตาย สแตนเลสสตีล
สูง 1800 ซม. x เส้นผ่านศูนย์กลาง 900 ซม.
งานศิลป์แบบอินเทอร์แอคทีฟ โดยเตีย-ตุย เหงียน

K