“รางวัลอรรธนารีศวร” ยกย่อง เชิดชูเกียรติ การขับเคลื่อนความหลากหลายทางเพศในระดับชาติและนานาชาติ

 “รางวัลอรรธนารีศวร” ยกย่อง เชิดชูเกียรติ การขับเคลื่อนความหลากหลายทางเพศในระดับชาติและนานาชาติ

การประชุม “เสวนาอรรธนารีศวร”และ’งานมอบรางวัลอรรธนารีศวร” ครั้งที่ 6 ประจำปี พ.ศ.2567 ยกย่อง เชิดชูเกียรติ และส่งเสริมการขับเคลื่อนความหลากหลายทางเพศในระดับชาติและนานาชาติ

กรุงเทพฯ – สมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย (RSAT) ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรภาคประชาสังคม จัดการประชุม “เสวนาอรรธนารีศวร”และ’งานมอบรางวัลอรรธนารีศวร” ครั้งที่ 6 ประจำปี พ.ศ.2567 ภายใต้แนวคิด “พลิกโฉมเอเชีย ยกระดับความเท่าเทียมด้วยการรับรองเพศสภาพ  เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2567 ณ ห้องประชุม ชั้น 10 กระทรวงยุติธรรม

“การมีกฎหมายรับรองอัตลักษณ์ทางเพศ จะเป้นเครื่องยืนยันว่าประเทศไทยสร้างความเท่าเทียมให้กับคนทุกกลุ่มอย่างแท้จริง เพราะกลุ่มคนข้ามเพศ นอนไบนารี อินเตอร์เซ็กส์คือกลุ่มคนที่ยังเผชิญการตีตราและเลือกปฎิบัติอยู่ในสังคมไทยอีกมาก” ณชเล บุญญาภิสมภาร รองประธานมูลนิธิเพื่อนกระเทยไทย (Thai TGA) ผู้ร่วมจัดตั้งงาน Youth Pride Thailand และ Trans Pride Thailand และผู้นำในการขับเคลื่อนกฎหมายรับรองอัตลักษณ์ทางเพศในประเทศไทยกล่าวในสัมมนาช่วงแรก

“ที่ประเทศเนปาล ภาคประชาสังคมทำงานร่วมกับภาครัฐและเอกชนอย่างเข้มข้น จนบังคับใช้กฎหมายรับรองอัตลักษณ์ทางเพศมามากกว่า 10 ปี โดยไม่มีผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐตามที่อาจมีข้อกังขา ในองค์กรจะมีการบังคับข้อปฎิบัติเหล่านี้เพื่อให้เกิดมาตรฐานของความเท่าเทียมอย่างแท้จริง” มานิชา ดาคาร์ ประธานองค์กร Blue Diamond Society ผู้เคลื่อนไหวผลักดันสิทธิของบุคคลข้ามเพศในเนปาล ตั้งแต่ปี 2007 โดยผลักดันให้บุคคลเลือกเพศที่สาม (third gender) ในเอกสารทางการ เช่น บัตรประชาชนและพาสปอร์ต กฎหมายนี้ถือเป็นก้าวสำคัญในการรับรองสิทธิมนุษยชนของชุมชน LGBTQ+ และสร้างความเท่าเทียมในสังคม

“ภาครัฐต้องสนับสนุนจัดสรรทรัพยากรและงบประมาณในการขับเคลื่อน โดยเน้นการมีส่วนร่วมของคนข้ามเพศ นอนไบนารี อินเตอร์เซ็กส์ตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ โดยคำนึงถึงอัตลักษณ์เฉพาะถิ่น ประเด็นเฉพาะเจาะจงที่คนกลุ่มนี้เผชิญเพื่อหาทางออกที่ยั่งยืน โดยต้องครอบคลุมทุกมิติทั้งสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม หากประเทศไทยตั้งเป้าจะประมูลสิทธิ์เป็นเจ้าภาพจัดงาน WorldPride 2030 หรือการเป็นจุดหมายปลายทางระดับโลกของกลุ่มนักเดินทางเพศหลากหลาย” ยัสมาเนีย บราวน์ ผู้บริหารองค์กรTransgender Europe (TGEU) และประธานบริหารร่วมองค์กร Interpride กล่าว

ในขณะที่เสวนา ช่วงที่ 2 เน้นยำถึงบทบาทของ ไพรด์ รัฐ เอกชน พันธมิตรเพื่อความเท่าเทียมทางเพศอย่างยั่งยืน

โดยเน้นถึงการทำงานเป็นองคาพยพอย่างเข้มแข็ง และการสร้างการมีส่วมร่วมของกลุ่มเพศหลากหลายตลอดกระบวนการสร้างนโยบายที่ครอบคลุมความต้องการ เช่น การเข้าถึงบริการสาธารณสุขที่เป็นมิตรต่อทุกเพศสภาพ พัฒนาระบบสาธารณสุขที่ตอบสนองต่อความต้องการของบุคคลข้ามเพศและกลุ่มเพศหลากหลาย การพัฒนากฎหมายที่รับรองเพศสภาพและส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศในทุกภาคส่วน บทบาทเอกชนในการสร้างพื้นที่ทำงานที่หลากหลาย ธุรกิจและองค์กรสามารถสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ยอมรับความหลากหลายทางเพศและสนับสนุนสิทธิเพศสภาพ การทำงานร่วมกันเพื่อผลักดันการเปลี่ยนแปลงในด้านสิทธิเพศสภาพและความยุติธรรมทางสังคม โดยมีตัวแทนจาก 3 ภาคส่วน ชุมชนไพรด์โดยคุณรีน่า จันทร์อำนวยสุข ผู้จัดการโครงการ

(งานวิจัยเชิงประยุกต์) แทงเจอรีนคลินิก ภาครัฐโดยคุณกุรุพิน สิงห์น้อย ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านสตรี กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความั่นคงของมนุษย์ และรศ.ภญ.ดร.ยุพดี ศิริสินสุข

รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และภาคเอกชนโดย คุณอรอนงค์ ประทักษ์พิริยะผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กรและองค์กรสัมพันธ์ ลอรีอัลประเทศไทย

ช่วงสุดท้ายเป็นงานมอบรางวัลอรรธนารีศวร ครั้งที่ 6 ประจำปี พ.ศ.2567 โดยรางวัลนี้มุ่งหมายเพื่อยกย่องบุคคล หน่วยงาน และองค์กร ที่สนับสนุนและส่งเสริมการทำงานด้านความหลากหลายทางเพศในมิติต่าง ๆ

เกี่ยวกับรางวัล “อรรธนารีศวร”

“อรรธนารีศวร” ได้รับการตั้งชื่อตามองค์เทพ “พระอรรธนารีศวร” ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งความสมดุลทางเพศ สื่อถึงความสามัคคี ความรัก และความหลากหลายทางเพศ รางวัลนี้เริ่มต้นจัดขึ้นครั้งแรกในปี 2560 และเป็นรางวัลแรกในประเทศไทยที่ให้ความสำคัญกับประเด็นดังกล่าว โดยรางวัลในปีนี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 6

ประเภทและผู้ได้รับรางวัล “อรรธนารีศวร” ครั้งที่ 6

1. รางวัล International Ardhanareeswara Award 2024

  • ประเภทบุคคล: คุณ Ymania Brown (Executive Director of Transgender Europe (TGEU) และ Co-President of InterPride)
  • ประเภทหน่วยงาน: Blue Diamond Society (BDS) ประเทศเนปาล

2. รางวัลด้านสร้างเสริมสุขภาพในชุมชนหลากหลายทางเพศ

  • ประเภทบุคคล: นายแพทย์ฐิติสันต์ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา (ผู้อำนวยการศูนย์บริการสาธารณสุข 28 กรุงธนบุรี)
  • ประเภทหน่วยงาน: โรงพยาบาลหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

3. รางวัลด้านส่งเสริมสิทธิมนุษยชนของชุมชนหลากหลายทางเพศ

  • ประเภทบุคคล: คุณณชเล บุญญาภิสมภาร (รองประธานมูลนิธิเครือข่ายเพื่อนกะเทยเพื่อสิทธิมนุษยชน และประธานมูลนิธิซิสเตอร์)
  • ประเภทหน่วยงานภาคธุรกิจ: บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน)

4. รางวัลด้านการส่งเสริมความเข้มแข็งและศักยภาพของชุมชนหลากหลายทางเพศ

ประเภทบุคคล: คุณสุรางค์ จันทร์แย้ม (ผู้อำนวยการมูลนิธิเพื่อนพนักงานบริการ)

ประเภทหน่วยงาน: กลุ่มหอแก้วสีรุ้ง จังหวัดมุกดาหาร

5. รางวัลด้านสื่อสร้างสรรค์

  • ประเภทสื่อชุมชน: Mr. Gay World Thailand
  • ประเภทสื่อสังคมออนไลน์: The Active (Thai PBS)
  • ประเภทสื่อสารมวลชน: รายการพุธทอล์ค พุธโทร (สถานีวิทยุ EFM 94)

6. รางวัลแห่งความมุ่งมั่น (Effort Recognition Award)

  • ผู้ได้รับรางวัล: สิบเอกเชาว์พิชาญ เตโช (นักจิตวิทยาชำนาญการ ศูนย์บริการสาธารณสุข 41 คลองเตย)

7. รางวัลแห่งความภาคภูมิใจ (Pride Award)

  • ประเภทบุคคล: คุณประเชิญ บุญสูงเนิน (เจินเจิน บุญสูงเนิน)
  • ประเภทหน่วยงาน: มูลนิธิแคร์แมท จังหวัดเชียงใหม่

8. รางวัลมิตรภาพ (Friendship Award)

  • ผู้ได้รับรางวัล: ดร.พัชรา เบญจรัตนาภรณ์ (ผู้อำนวยการโครงการเอดส์แห่งสหประชาชาติ ประจำประเทศไทย)

เจ้าภาพร่วมจัดงานประจำปี 2567

  1. กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
  2. กระทรวงยุติธรรม
  3. กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม
  4. กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  5. สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
  6. สมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (สวท)
  7. International Planned Parenthood Federation
  8. สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน)
  9. บริษัท ทรานส์ทาเลนท์ คอนซัลติ้ง กรุ๊ป
  10. สมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย

K