• 22 พฤศจิกายน 2024

แนวโน้มเศรษฐกิจปี 66 ความเชื่อมั่นของ “ผู้บริโภคไทย” ปรับตัวสูงขึ้น

 แนวโน้มเศรษฐกิจปี 66 ความเชื่อมั่นของ “ผู้บริโภคไทย” ปรับตัวสูงขึ้น

Macromill South East Asia Co., Ltd. จัดทำแบบสำรวจรายสัปดาห์ที่มีชื่อว่า Macromill Weekly Index Asia โดยสังเกตการณ์ผู้บริโภคในภูมิภาคเอเชียทั้ง 7 ประเทศ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย เวียดนาม ญี่ปุ่น จีน ไต้หวัน และเกาหลีใต้ เพื่อชี้วัดไลฟ์สไตล์และทัศนคติของผู้บริโภคในแต่ละประเทศ ซึ่งในที่นี้จะขอกล่าวถึงแนวโน้มของประเทศไทยเป็นหลัก

  • ในช่วงครึ่งแรกของปีงบประมาณ 2566 ความเชื่อมั่น และ ความต้องการบริโภคของไทยยังคงสูงขึ้น

เมื่อพิจารณาดูความแตกต่างทางด้านไลฟ์สไตล์และทัศนคติของผู้บริโภคในประเทศต่างๆ จากแผนภาพที่ 1 ด้านล่าง จะเห็นว่าข้อชี้วัดเชิงคุณภาพที่ได้จากผลสำรวจ ซึ่งมีการวัดผลจากแนวโน้ม และสถานการณ์ในอดีตของแต่ละประเทศ ไม่ใด้วัดผลเพียงแค่ตัวเลขเพียงอย่างเดียว

เมื่อพิจารณาถึงความเชื่อมั่น ความต้องการบริโภค และความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจในประเทศไทย หากไม่นับหัวข้อเรื่องค่าครองชีพ ผลลัพธ์ที่ได้คือ “ดี” ส่วนในประเทศอื่นๆ ยกเว้นอินโดนีเซีย ผลลัพธ์ทั้งหมดคือ “ไม่เปลี่ยนแปลง”

  • ความต้องการบริโภคของไทยมีแนวโน้ม “เติบโต” แต่ทว่ายังคงต้องจับตาดูในช่วงครึ่งหลังของปีงบประมาณ 2566 ด้วย

เมื่อพิจารณาความต้องการบริโภคในแผนภาพที่ 2 พบว่าตั้งแต่ปี 2566 เป็นต้นมา ประเทศไทยมีการฟื้นตัวที่ดีขึ้นมากเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า แม้ว่ามูลค่าการส่งออกไปต่างประเทศของไทยจะชะลอตัวลง แต่นับตั้งแต่ต้นปี 2566 ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเพิ่มสูงขึ้น และความเชื่อมั่นทางภาคธุรกิจก็ดำเนินไปในทิศทางที่ดี อันเนื่องมาจากการฟื้นตัวของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติและการบริโภคภายในประเทศที่เติบโตขึ้น

ในทางกลับกัน การส่งออกกลับเหมือนกับประเทศอื่นๆ ที่อยู่บนแนวโน้มการฟื้นตัว (*1) และล่าสุด สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง คาดการณ์ว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจจะปรับตัวลดลงในปี 2566 รวมถึงสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(FTI) ยังประมาณการปริมาณการผลิตรถยนต์ว่าจะลดต่ำลงอีกด้วย จึงมีแนวโน้มว่าสถานการณ์ปัจจุบันยังไม่น่าวางใจ ต้องจับตาดูว่า ความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจจะดำเนินต่อไปในทิศทางที่ดีขึ้นหรือไม่

*1 อ้างอิงจาก Nisseikiso Research Institute เศรษฐกิจประเทศไทย “อัตราการเติบโตเดือนมกราคม-มีนาคม 2556 เพิ่มขึ้น 2.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา~ การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากการฟื้นตัวด้านการท่องเที่ยวและการบริโภค”

  • ไทย อินโดนีเซีย และไต้หวัน ความต้องการบริโภคยังคงแข็งแกร่ง ขณะที่ เวียดนาม และ จีน ความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจยังคงต่ำกว่าปีก่อน

สรุปแนวโน้มของแต่ละประเทศผ่านการประเมินผลจากแบบสำรวจ

ไทย: เศรษฐกิจกำลังไปได้ดีโดยมีความต้องการบริโภคมากกว่าปีที่แล้ว แต่ยังต้องจับตาดูความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจจะดำเนินต่อไปในทิศทางที่ดีหรือไม่

อินโดนีเซีย: ความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจสูงกว่าปีที่แล้ว และความต้องการบริโภคยังคงมีแนวโน้มสูงขึ้นจากปีที่แล้วอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2566

เวียดนาม: ความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจยังคงต่ำกว่าปีที่แล้ว ซึ่งอาจเป็นปัจจัยทำให้ความต้องการบริโภคต่ำกว่าปีที่แล้วเล็กน้อยเช่นกัน

ญี่ปุ่น: แม้ว่าเศรษฐกิจจะยังซบเซาตั้งแต่ต้นปี 2566 แต่ ณ เดือนกันยายน 2566 ความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจกลับสูงขึ้นกว่าปีก่อนหน้า ในขณะเดียวกันความต้องการบริโภคยังคงทรงตัวไม่ เปลี่ยนแปลงจากปีที่แล้ว

จีน: ความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจยังคงซบเซา ล่าสุดลดลงสู่ระดับเดียวกับเมื่อช่วงสองปีที่ผ่านมา ตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจประเภทต่างๆ มีแนวโน้มถดถอย รวมถึงมีความกังวลเกี่ยวกับภาวะเงินฝืด

ไต้หวัน: แม้ว่าความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ และ ความต้องการบริโภคจะดำเนินไปในทิศทางที่ดีขึ้น แต่ความเชื่อมั่นยังคงมีแนวโน้มลดลง แม้ว่าการสำรวจครั้งนี้จะไม่ได้ครอบคลุมถึงเหตุผล แต่มีปัจจัยหลายประการที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นที่ลดลง ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยจากการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ในสังคมหรือสถานการณ์ทางการเมือง เช่น การเลือกตั้งประธานาธิบดีในปี 2567 หรือความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้น นำโดยอุตสาหกรรมไอทีที่การส่งออกยังคงตกต่ำ หรือรายงานอุบัติการณ์ทางสังคม (*2) ในเดือนมิถุนายน 2566 เป็นต้น

*2 การเสียชีวิตอย่างลึกลับของนักเรียนมัธยมปลายที่ได้รับมรดก 500 ล้านหยวน และกระแส MeToo ในไต้หวัน

เกาหลีใต้: เศรษฐกิจตกต่ำนับตั้งแต่ต้นปี 2566 แต่ความเชื่อมั่นทางภาคธุรกิจยังคงฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง โดยฟื้นตัวจากการส่งออกเซมิคอนดักเตอร์และอุปสงค์ในประเทศ นอกจากนี้ ยังมีสัญญาณความต้องการบริโภคที่ดีขึ้น แม้ว่าจะเป็นไปอย่างช้า ๆ ก็ตาม

ที่มา: เวกเตอร์ กรุ๊