ขากรรไกรมีเสียง…เคี้ยวแล้วปวด เสี่ยงข้อต่อขากรรไกรผิดปกติ T.M.D
เคี้ยวแล้วปวด ขากรรไกรมีเสียง… เสี่ยงข้อต่อขากรรไกรผิดปกติ T.M.D
คุณเคยมีอาการเหล่านี้ อย่างน้อยหนึ่งครั้งต่อสัปดาห์หรือไม่?
- รู้สึกติดขัดเวลาอ้าปากไม่สามารถอ้าปากได้เต็มที่
- มีอาการปวดบริเวณใบหน้า หรือข้อต่อขากรรไกรขณะอ้าปากกว้าง, หาว หรือขณะเคี้ยวอาหาร
- รู้สึกมีเสียง “คลิก” หรือ “เป๊าะ” ที่บริเวณข้อต่อขากรรไกร ขณะอ้าปากหรือหุบปากเคี้ยวอาหาร
- เคยมีขากรรไกรค้าง แต่เมื่อขยับคางซ้ายขวาก็สามารถหุบลงได้เอง
- มีอาการปวดขมับ
** ถ้าคุณมีอาการข้อใดข้อหนึ่ง แสดงว่าคุณอาจเริ่มมีความผิดปกติบริเวณกล้ามเนื้อที่ใช้ในการบดเคี้ยว หรือข้อต่อขากรรไกรอยู่ก็ได้นะครับ
เทมโพโรแมนดิบูล่าร์ ดิสออเดอร์ (Temporomandibular Disorders) หรือ T.M.D. กลุ่มอาการที่เกี่ยวข้องกับระบบการบดเคี้ยว จัดเป็นความผิดปกติของระบบกระดูก เอ็น ข้อ และกล้ามเนื้อที่ใช้ทำหน้าที่บดเคี้ยว อาจทำให้เกิดความเจ็บปวดบริเวณใบหน้าและช่องปาก หรือทำให้การทำหน้าที่ของระบบการบดเคี้ยวผิดปกติไปสาเหตุที่ทำให้เกิด T.M.D.
- มีประวัติการบาดเจ็บที่เกี่ยวข้องกับขากรรไกรมาก่อน เช่น เคยถูกกระแทกอย่างแรง
- การสบฟันผิดปกติ การเสียสมดุลของระบบบดเคี้ยว เช่น การถอดฟันกรามออก แล้วไม่ใส่ฟันปลอม
- เคี้ยวอาหารข้างเดียว ทำให้กล้ามเนื้อบดเคี้ยวและข้อต่อขากรรไกรทำงานไม่สมดุล
- ทานอาหารเหนียว แข็ง หรือ เคี้ยวหมากฝรั่งเป็นประจำ
- นอนกัดฟัน
- ความเครียด
การรักษา ส่วนใหญ่จะแนะนำให้ปฏิบัติตัวเพื่อลดอาการบาดเจ็บของข้อต่อขากรรไกรก่อน เช่น เลี่ยงการเคี้ยวอาหารแข็งและเหนียว ประคบอุ่นบริเวณที่บาดเจ็บ ทานยาแก้ปวดหรือยาแก้อักเสบ นอกจากนี้ ทันตแพทย์ อาจทำเครื่องมือเฝือกสบฟันให้ใส่เวลานอน เพื่อป้องกันการนอนกัดฟัน หรือเพื่อรักษาตำแหน่งที่ถูกต้องของข้อต่อขากรรไกร หากไม่ดีขึ้นอาจจำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัดรักษา… คลิกอ่านข้อมูลเพิ่มเติม >> www.ram-hosp.co.th/news_detail/2298
ที่มา: โรงพยาบาลรามคำแหง